พื้นที่ผิวและปริมาตร
สิ่งรอบตัวในชีวิตประวันของเราหลายสิ่งที่มีส่วนประกอบเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติ
เช่น กล่องของขวัญซึ่งมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก กระป๋องเครื่องดื่มที่มีลักษณะเป็นทรงกระบอก
ไอศกรีมที่บรรจุอยู่ในกรวยที่ทำจากแป้งอบกรอบ และลูกบอลที่มีลักษณะใกล้เคียงทรงกลม
นอกจากทรงกระบอก กรวย และทรงกลม เราอาจจะเคยรู้จักพีระมิดและปริซึมมาบ้างแล้วซึ่งเป็นรูปเรขาคณิตที่น่าศึกษา เช่นเดียวกัน เราอาจเคยเห็นพีระมิดจากหนังสือหรือภาพยนตร์เกี่ยวกับมัมมี่หรือในสารคดีเกี่ยวกับประเทศอียิปต์
ปริซึม
สิ่งของรอบๆ ตัวเราหลายอย่างมีลักษณะเป็นปริซึม เช่น กล่องยาสีฟันมีลักษณะเป็นปริซึมสี่เหลี่ยม กล้องสลับลายมีลักษณะเป็นปริซึมสามเหลี่ยม รวมถึงของใช้ในชีวิตประจำวันอีกมากมาย
ในทางคณิตศาสตร์ปริซึมมีลักษณะ ดังนี้
พีระมิดในประเทศอียิปต์ การฉายแสงผ่านปริซึม
หัวข้อต่อไปนี้ จะได้ศึกษารูปเรขาคณิตสามมิติแต่ละชนิด
ดังต่อไปนี้
ปริซึม
สิ่งของรอบๆ ตัวเราหลายอย่างมีลักษณะเป็นปริซึม เช่น กล่องยาสีฟันมีลักษณะเป็นปริซึมสี่เหลี่ยม กล้องสลับลายมีลักษณะเป็นปริซึมสามเหลี่ยม รวมถึงของใช้ในชีวิตประจำวันอีกมากมาย
ในทางคณิตศาสตร์ปริซึมมีลักษณะ ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานทั้งสองเป็นรูปเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการ
ฐานทั้งสองอยู่บน
ระนาบที่ขนานกัน และด้านข้างแต่ละด้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน เรียกว่า ปริซึม |
ส่วนต่างๆ
ของปริซึมมีชื่อเรียก ดังนี้
เราเรียกชื่อปริซึมชนิดต่างๆ
ตามลักษณะของฐานของปริซึม ดังตัวอย่าง
นอกจากปริซึมที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมแล้ว
เราอาจพบปริซึมที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมชนิดใดๆ ก็ได้ เช่น แท่นรับรางวัล
ถึงแม้ว่าจะมีทั้งปริซึมตรงและปริซึมเอียง
แต่ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงปริซึมตรงที่มีด้านข้างตั้งฉากกับฐานเท่านั้น จะไม่กล่าวถึงปริซึมเอียงที่มีด้านข้างไม่ตั้งฉากกับฐาน
ทรงกระบอก
ทรงกระบอกเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติที่มีรูปร่างคล้ายกระบอกไม้ไผ่ที่ตัดเป็นท่อน
มีหลายสิ่งที่มีคำว่ากระบอกอยู่ในชื่อ เพื่อบ่งบอกให้รู้ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับทรงกระบอก
เช่น เสื้อแขนกระบอก หุ่นกระบอก หรือปลากระบอก นอกจากนี้รอบๆ ตัวเรายังมีสิ่งของอีกหลายสิ่งที่ส่วนประกอบมีลักษณะเป็นทรงกระบอก
เช่น แก้วน้ำ แจกัน หลอดยาดม และถ่านไฟฉายทรงกระบอก
หลอดยาดม ถ่านไฟฉาย แก้วน้ำ
ในทางคณิตศาสตร์
ทรงกระบอกมีลักษณะ ดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานสองฐานเป็นรูปวงกลมที่เท่ากันทุกประการ
และอยู่บนระนาบที่ขนานกัน และเมื่อตัดรูปเรขาคณิตสามมิตินั้น ด้วยระนาบที่ขนานกับฐานแล้วจะได้หน้าตัดที่เป็นวงกลมเท่าๆ กันทุกประการกับฐานเสมอ เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า ทรงกระบอก |
รูปด้านล่างนี้เป็นรูปของทรงกระบอกและส่วนต่างๆ
ของทรงกระบอก
ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะทรงกระบอกที่มีแกนตั้งฉากกับฐานเท่านั้น
ในชีวิตประจำวัน น้องๆ อาจจะพบกับสิ่งก่อสร้างที่ส่วนประกอบมีลักษณะเป็นพีระมิด เช่น หลังคายอดโดมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังคาบ้านและอาคารต่างๆ ดังรูป
โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงคำว่าพีระมิด เรามักนึกถึงและเข้าใจว่าพีระมิดจะต้องมีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเช่นเดียวกันกับฐานของพีระมิดในประเทศอียิปต์เสมอ แต่ในทางคณิตศาสตร์แล้วฐานของพีระมิดไม่จำเป็นต้องมีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก็ได้
ในทางคณิตศาสตร์
พีระมิดมีลักษณะดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปเหลี่ยมใดๆ
มียอดแหลมที่ไม่อยู่ในระนาบเดียวกันกับฐาน และหน้าทุกหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีจุดยอดร่วมกันที่ยอดแหลมนั้น
เรียกว่า พีระมิด
|
ในทางคณิตศาสตร์พีระมิดตรงเป็นพีระมิดที่มีฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า และมีสันทุกสันยาวเท่ากัน
เราเรียกพีระมิดชนิดต่างๆ ตามลักษณะของฐานของพีระมิด ดังตัวอย่าง
ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงพีระมิดฐานตรงและพีระมิดที่มีสันทุกสันยาวเท่ากันเท่านั้น
กรวย
สิ่งต่างๆ ที่ประกอบมีลักษณะเป็นกรวย ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น กระโจม โคมไฟ กรวยจราจร หมวก และกระทงใบตองที่ฝามีลักษณะเป็นกรวย นอกจากนี้ กรวยยังเป็นชื่อขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาลปีบ บรรจุอยู่ในกรวยใบตอง
สิ่งต่างๆ ที่ประกอบมีลักษณะเป็นกรวย ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น กระโจม โคมไฟ กรวยจราจร หมวก และกระทงใบตองที่ฝามีลักษณะเป็นกรวย นอกจากนี้ กรวยยังเป็นชื่อขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาลปีบ บรรจุอยู่ในกรวยใบตอง
ในทางคณิตศาสตร์
กรวยมีลักษณะดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีฐานเป็นรูปวงกลม
มียอดแหลมที่ไม่อยู่บนระนาบเดียวกับฐาน
และเส้นที่ต่อระหว่างจุดยอดและจุดใดๆ บนขอบของฐานเป็นส่วนของเส้นตรง เรียกรูปเรขาคณิตสามมิตินั้นว่า กรวย |
ทรงกลม
ทรงกลมเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติอีกชนิดหนึ่งที่น้องๆ อาจจะคุ้นเคยดี และเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ ตลอดจนจุลชีพที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ลูกเทนนิส ลูกแก้ว ลูกบอล และผลไม้ลูกกลมๆ
ทรงกลมเป็นรูปเรขาคณิตสามมิติอีกชนิดหนึ่งที่น้องๆ อาจจะคุ้นเคยดี และเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ ตลอดจนจุลชีพที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น ลูกเทนนิส ลูกแก้ว ลูกบอล และผลไม้ลูกกลมๆ
ในทางคณิตศาสตร์ทรงกลมมีลักษณะดังนี้
รูปเรขาคณิตสามมิติที่มีผิวโค้งเรียบ และจุดทุกจุดบนผิวโค้งอยู่ห่าง
จากจุดคงที่จุดหนึ่งเป็นระยะเท่ากัน เรียกว่า ทรงกลม
จุดคงที่นั้นเรียกว่า จุดศูนย์กลางของทรงกลม
ระยะที่เท่ากันนั้นเรียกว่า รัศมีของทรงกลม |
เมื่อตัดทรงกลมด้วยระนาบผ่านจุดศูนย์กลางของทรงกลม
จะได้หน้าตัดเป็นวงกลมเรียกว่า วงกลมใหญ่
รูปข้างล่างนี้เป็นรูปทรงกลมและส่วนต่างๆ ของทรงกลม
![]() |
ปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก
บุคคลในหลายสาขาอาชีพต้องเข้าใจและชำนาญในเรื่องของการวัด
การชั่ง การตวง และเรื่องที่เกี่ยวกับปริมาตรเป็นอย่างดี ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดข้อผิดพลาดและเสียหาย
เช่น วิศวกรอาจออกแบบโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ไม่แข็งแรงพอ นักวิทยาศาสตร์อาจทำการทดลองแล้วผิดพลาดทำให้เกิดการระเบิด
หรือพ่อครัวอาจปรุงรสอาหารแล้วได้รสชาติไม่คงที่
สำหรับบุคคลทั่วไป การเรียนรู้และใช้ความรู้เกี่ยวกับปริมาตรจะช่วยให้เราเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดในการเลือกซื้อสินค้า
รู้จักเปรียบเทียบราคาของสินค้าต่อหน่วยปริมาตร ทำให้เลือกซื้อสินค้าได้ถูกว่าและช่วยให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้
เมื่อกล่าวถึงการวัดความจุ จะหมายถึงการหาปริมาตร
การหาปริมาตรของวัตถุใดๆ อาจทำได้โดยการจมวัตถุนั้นลงในภาชนะที่มีน้ำอยู่ ตราบใดที่วัตถุไม่ละลายหรือดูดซับน้ำ
ปริมาตรของน้ำส่วนที่เพิ่มขึ้น หรือปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมาในกรณีเดิมมีน้ำอยู่เต็มภาชนะพอดี
จะเท่ากับปริมาตรของวัตถุนั้น วิธีการนี้เป็นการหาปริมาตรของวัตถุโดยการแทนที่น้ำ
ในทางคณิตศาสตร์
เราอาจคำนวณหาปริมาตรของสิ่งของต่างๆ ได้โดยไม่ต้องใช้การแทนที่น้ำ ในบทเรียนนี้
น้องๆ จะได้ศึกษาการหาปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติหลายชนิด ได้แก่ ปริซึม
ทรงกระบอก พีระมิด และทรงกลม
ปริมาตรของปริซึม
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นปริซึมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก น้องๆ รู้จักการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมาแล้ว ดังนั้น สูตรการหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก จึงเป็นสูตรเดียวกันกับสูตรการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กล่าวคือ
ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากเป็นปริซึมชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก น้องๆ รู้จักการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากมาแล้ว ดังนั้น สูตรการหาปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก จึงเป็นสูตรเดียวกันกับสูตรการหาปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กล่าวคือ
ปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
|
=
|
ความกว้าง x ความยาว x ความสูง
|
=
|
พื้นที่ฐาน x ความสูง
|
ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก = ½ ของปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
จากความจริงข้างต้น
ช่วยให้เราหาปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยม ASR ใดๆ ได้ดังนี้
แบ่งปริซึมสามเหลี่ยม ASR เป็นปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ASD และปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ARD โดยตัดตามแนวระนาบ ABCD
ดังรูป
สร้างปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก PQRS ให้มีปริซึมสามเหลี่ยม ASR เป็นส่วนหนึ่ง ดังรูป
สร้างปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก PQRS ให้มีปริซึมสามเหลี่ยม ASR เป็นส่วนหนึ่ง ดังรูป
ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก
ASD
เป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก ADSP และในทำนองเดียวกัน ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ARD ก็เป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก ADRQ
ดังนั้น ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ASR จึงเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก PQRS นั่นคือ
ดังนั้น ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมมุมฉาก ASR จึงเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก PQRS นั่นคือ
ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยม
ASR
|
=
|
½ ของปริมาตรของปริซึมสี่เหลี่ยมมุมฉาก
PQRS
|
=
|
½ x (พื้นที่ของ
□ PQRS x AB)
|
|
=
|
(½ x พื้นที่ของ
□ PQRS x AB)
|
|
=
|
พื้นที่ฐานของปริซึมสามเหลี่ยม
ASR x ความสูง
|
|
-------------------- นั่นคือ
ปริมาตรของปริซึมสามเหลี่ยมใดๆ = พื้นที่ฐาน x ความสูง
|
ปริมาตรของปริซึมห้าเหลี่ยม
|
=
|
ปริมาตรของปริซึม
1 +
ปริมาตรของปริซึม 2 +
ปริมาตรของปริซึม 3
|
=
|
(พื้นที่ฐานของปริซึม 1 x h
) + (พื้นที่ฐานของปริซึม 2
x h ) + (พื้นที่ฐานของปริซึม 3 x h )
|
|
=
|
[พื้นที่ฐานของปริซึม 1 + พื้นที่ฐานของปริซึม 2 + พื้นที่ฐานของปริซึม 3]
x h
|
|
=
|
พื้นที่ฐานของปริซึมห้าเหลี่ยม
x
h
|
โดยทั่วไป
สูตรการหาปริมาตรของปริซึมเป็นดังนี้
|
ปริมาตรของปริซึมใดๆ
|
=
|
พื้นที่ฐาน x สูง
|
ปริมาตรของทรงกระบอก
นักเรียนลองนึกภาพของรูหลายเหลี่ยมด้านเท่าตามลำดับที่กำหนดให้ด้านล่างนี้ เริ่มจากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า รูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า รูปเจ็ดเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า และรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า จะสังเกตเห็นว่ายิ่งจำนวนด้านมีมากขึ้นเท่าใด รูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าเหล่านั้นก็จะมีรูปร่างใกล้เคียงกับวงกลมมากขึ้นตามไปด้วย
นักเรียนลองนึกภาพของรูหลายเหลี่ยมด้านเท่าตามลำดับที่กำหนดให้ด้านล่างนี้ เริ่มจากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า รูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า รูปเจ็ดเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า และรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า จะสังเกตเห็นว่ายิ่งจำนวนด้านมีมากขึ้นเท่าใด รูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าเหล่านั้นก็จะมีรูปร่างใกล้เคียงกับวงกลมมากขึ้นตามไปด้วย
เราอาจกล่าวได้ว่า ทรงกระบอกจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับปริซึมที่มีฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าจำนวนด้านมากๆ
ดังนั้น การหาปริมาตรของทรงกระบอกจึงหาได้ในทำนองเดียวกันกับการหาปริมาตรของปริซึมนั่นเอง
นั่นคือ
|
ปริมาตรของทรงกระบอก
|
=
|
พื้นที่ฐาน x สูง
|
เนื่องจากพื้นที่ฐานหาได้จากพื้นที่ของวงกลมที่เป็นฐานของทรงกระบอก
ซึ่งเท่ากับ πr2
|
|||
เมื่อ r แทนรัศมีของวงกลมที่เป็นฐานของทรงกระบอก
และ h แทนความสูงของกระบอก
|
ดังนั้น
|
ปริมาตรของทรงกระบอก
|
=
|
πr2h
|
ปริมาตรของพีระมิดและกรวย
นักเรียนรู้จักปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอกมาแล้ว ในหัวข้อนี้เราจะต้องนำความรู้ดังกล่าวมาใช้ประกอบในการหาปริมาตรของพีระมิดและกรวย
เพื่อให้ได้แนวคิดในการหาปริมาตรของพีระมิดและกรวย
ปริมาตรของพีระมิด
สมมติว่าเราเททรายจากพีระมิดลงในปริซึมที่มีพื้นที่ฐานเท่ากันและความสูงเท่ากันจำนวนสามครั้ง
จึงจะได้ทรายเต็มปริซึมพอดี เราจึงคาดการณ์ว่าปริมาตรของพีระมิดเป็นหนึ่งในสามของปริมาตรของปริซึมที่มีพื้นที่ฐานเท่ากันและความสูงเท่ากัน
ซึ่งอาจแสดงความสัมพันธ์ได้ด้วยรูปภาพ ดังนี้
ในทางคณิตศาสตร์ ข้อความคาดการณ์ข้างต้นเป็นจริงตามความสัมพันธ์ต่อไปนี้
ปริมาตรของพีระมิด = 1/3 ของปริมาตรของปริซึมที่มีพื้นที่ฐานเท่ากับพื้นที่ฐานของพีระมิดและ
ความสูงเท่ากับความสูงของพีระมิด
= 1/3 x (พื้นที่ฐานของปริซึม x ความสูงของปริซึม )
= 1/3 x (พื้นที่ฐานของพีระมิด x ความสูงของพีระมิด )
โดยทั่วไปสูตรการหาปริมาตรของพีระมิด
เป็นดังนี้
ปริมาตรของปริซึม = 1/3 x พื้นที่ฐาน x สูง
นักเรียนทราบแล้วว่า รูปหลายเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่าที่มีจำนวนด้านมากๆ
จะมีรูปร่างใกล้เคียงกับวงกลม ดังนั้น กรวยจึงมีลักษณะใกล้เคียงกับพีระมิดที่ฐานเป็นรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่าที่มีจำนวนด้านมากๆ
นักเรียนได้เห็นความสัมพันธ์ของปริมาตรของพีระมิดกับปริซึมที่มีพื้นที่ฐานเท่ากันและความสูงเท่ากันมาแล้ว ปริมาตรของกรวยก็สัมพันธ์กับปริมาตรของทรงกระบอกในทำนองเดียวกัน กล่าวคือ
นักเรียนได้เห็นความสัมพันธ์ของปริมาตรของพีระมิดกับปริซึมที่มีพื้นที่ฐานเท่ากันและความสูงเท่ากันมาแล้ว ปริมาตรของกรวยก็สัมพันธ์กับปริมาตรของทรงกระบอกในทำนองเดียวกัน กล่าวคือ
ปริมาตรของกรวย = 1/3 ของปริมาตรของทรงกระบอกที่มีพื้นที่ฐานเท่ากับพื้นที่ฐานของกรวยและมีความสูงเท่ากับความสูงของกรวย
ปริมาตรของกรวย = 1/3 x พื้นที่ฐาน x สูง
ปริมาตรของกรวย = 1/3 x พื้นที่ฐาน x สูง
หรือ ปริมาตรของกรวย = 1/3 πr2h เมื่อ r แทนรัศมีของฐานของกรวย
เพื่อเป็นการตรวจสอบการหาปริมาณของกรวยข้างต้น นักเรียนอาจทำการทดลองเททรายจากทรงกระบอกที่มีพื้นที่ฐานเท่ากันและความสูงเท่ากันกับของกรวย
จะพบว่า เททรายลงในกรวยที่มีขนาดใหญ่เท่ากันได้เต็ม 3 อันพอดี ซึ่งอาจแสดงความสัมพันธ์ด้วยรูปภาพได้ ดังนี้
ปริมาตรของทรงกลม
นักเรียนเคยสังเกตหรือไม่ว่า ไข่กบ แตงโม ส้มโอ โลก
ดวงจันทร์ และอื่นๆ
อีกมากมายที่พบเห็นได้ทั่วไปในธรรมชาติมีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกับทรงกลม การที่รูปร่างของสิ่งต่างๆ
ในธรรมชาติมีลักษณะใกล้เคียงกับทรงกลมเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะเมื่อเปรียบเทียบทรงกลมกับรูปเรขาคณิตสามมิติอื่นๆ
ที่มีพื้นที่ผิวเท่ากับทรงกลมแล้ว ทรงกลมจะมีปริมาตรมากที่สุด หรืออีกนัยหนึ่งคือ ในบรรดารูปเรขาคณิตสามมิติที่มีปริมาตรเท่ากัน
พื้นที่ผิวของทรงกลมจะน้อยกว่าพื้นที่ผิวของรูปเรขาคณิตสามมิติอื่นๆ ทำให้ทราบว่า การที่ธรรมชาติสร้างทรงกลมห่อหุ้มสิ่งมีชีวิต
นับเป็นการใช้วัสดุธรรมชาติอย่างประหยัด
ในทำนองเดียวกันกับการหาปริมาตรของทรงสามมิติที่กล่าวมาแล้ว
เราจะใช้การตวงทราย โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างครึ่งทรงกลมกับทรงกระบอก และเพื่อให้ได้แนวคิดในการหาปริมาตรของทรงกลม
ปริมาตรของทรงกลม
1. ผ่าครึ่งลูกบอลพลาสติกออกเป็นสองซีก แล้วหาความยาวของรัศมีครึ่งทรงกลม สมมติให้เป็น r เซนติเมตร
2. ใช้กระดาษแข็งสร้างทรงกระบอกให้มีรัศมีของฐานยาว r เซนติเมตร
และสูง 2r เซนติเมตร โดยเปิดฐานไว้ข้างหนึ่ง
3. ใส่ทรายให้เต็มครึ่งทรงกลม
แล้วเททรายจากครึ่งทรงกลมใส่ในทรงกระบอก น้องๆ ต้องเททรายจากครึ่งทรงกลมที่มีทรายเต็มกี่ครั้งจึงจะเต็มทรงกระบอกพอดี
จากกิจกรรมข้างต้น นักเรียนจะพบว่า
ต้องเททรายจากครึ่งทรงกลมจำนวน 3 ครั้ง จึงจะเต็มทรงกระบอกพอดี
แสดงว่าสามเท่าของปริมาตรของครึ่งทรงกลมมีรัศมียาว r เซนติเมตร
จะเท่ากับปริมาตรของทรงกระบอกที่มีรัศมีของฐานยาว r เซนติเมตร
และสูง 2r เซนติเมตร
พื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอก
นักเรียนได้หาปริมาตรของรูปเรขาคณิตสามมิติต่างๆ
มาแล้ว ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการหาพื้นที่ผิวของรูปเรขาคณิตสามมิติบางรูป
การหาพื้นที่ผิวของรูปเรขาคณิตสามมิติใดๆ เป็นการหาพื้นที่ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของรูปเรขาคณิตสามมิตินั้น
การหาพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอก หาได้โดยหาพื้นที่ของด้านข้างทั้งหมดรวมกับพื้นที่ของฐานทั้งสอง
ซึ่งอธิบายโดยใช้รูปคลี่ได้ ดังนี้
พื้นที่ผิวของปริซึมเท่ากับพื้นที่ทั้งหมดของรูปคลี่ของปริซึม
พื้นที่ผิวของทรงกระบอกเท่ากับพื้นที่ทั้งหมดของรูปคลี่ของทรงกระบอก
พื้นที่ผิวข้างของรูปหลายเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า
=
½ x ความยาวเส้นรอบรูปของฐาน x สูงเอียง
พื้นที่ผิวของพีระมิด =
พื้นที่ฐาน + พื้นที่ผิวข้าง
พื้นที่ผิวข้างของปริซึม =
เส้นรอบรูปของฐาน x สูง
พื้นที่ผิวทั้งหมดของปริซึม =
พื้นที่ผิวข้าง + 2 (พื้นที่หน้าตัด)
ที่มาข้อมูล : http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=77444
ดีมากคะ
ตอบลบขอบคุณมากครับ
ตอบลบ